ดันหมี ๑

Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz

ชื่ออื่น ๆ
กัลปังหาต้น (ภูเก็ต); ก้านเหลือง, คำเกี้ยวต้น, มะดีควาย (เหนือ); ปูตูบูแว (มลายู-นราธิวาส

ไม้ต้น เปลือกเรียบ สีเทาถึงสีน้ำตาล ปลายกิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปรี หรือ รูปไข่กลับแกมรูปรี ก้านใบสีเหลืองอมส้ม ดอกแยกเพศต่างต้นหรือดอกแยกเพศและดอกสมบูรณ์เพศร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด ช่อดอกเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ ดอกสีขาวอม เขียว ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงรีหรือกึ่งทรงรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำเงินอมม่วงหรือสีค่อนข้าง ดำ เมล็ดสีขาว คล้ายทรงรูปไข่ มี ๑ เมล็ด พบน้อยที่มี ๒ เมล็ด


     ดันหมีชนิดนี้เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๑๐ ม. เส้น ผ่านศูนย์กลางต้น ๑๐-๓๐ ซม. เปลือกเรียบ สีเทาถึงสี น้ำตาล กิ่งเรียวยาว ปลายกิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่ เกลี้ยง
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปไข่ กลับแกมรูปรี กว้าง ๕-๑๓ ซม. ยาว ๑๐-๒๔ ซม. ปลาย เรียวแหลม โคนรูปลิ่มหรือกลม มักเบี้ยวเล็กน้อย ขอบ เรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นกลางใบเป็นร่อง ตื้นทางด้านบน ด้านล่างเห็นเด่นชัด เส้นแขนงใบข้างละ ๔-๗ เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ทั้งเส้นแขนงใบและเส้น ใบย่อยนูนเล็กน้อยทางด้านบน ก้านใบยาว ๑-๑.๕ ซม. สีเหลืองอมส้ม เกลี้ยง
     ดอกแยกเพศต่างต้นหรือดอกแยกเพศและดอก สมบูรณ์เพศร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด ออก ตามซอกใบ ช่อยาว ๐.๖-๑.๕ ซม. ก้านช่อมีขนประปราย ก้านดอกสั้น ดอกสีขาวอมเขียว กลีบเลี้ยงยาว ๑.๕-๒ มม. โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกกึ่ง รูปไข่ ปลายมน มีขนครุย กลีบดอกยาวประมาณ ๖ มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละ แฉกรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ติด บนหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ๓ มม. อับเรณูรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว ๑.๒-๑.๕ มม. ช่อดอก เพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศแบบช่อกระจะสั้น ดอกสีขาว อมเขียว ขนาดใกล้เคียงกับดอกเพศผู้ รังไข่อยู่เหนือวง กลีบ คล้ายทรงรูปไข่ ยาวประมาณ ๒.๕ มม. มีขนค่อน ข้างหนาแน่น โดยเฉพาะที่ปลาย รังไข่มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑-๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น มีขน ยอดเกสร เพศเมียเป็นพูเล็ก ๓ พู

 


     ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงรีหรือกึ่งทรง รูปไข่ กว้าง ๒-๓ ซม. ยาว ๓.๕-๖ ซม. ทั้งปลายและโคนค่อนข้างกลมหรือสอบเรียว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำเงิน อมม่วงหรือสีค่อนข้างดำ ผนังผลชั้นนอกมีเส้นใยคล้าย ฟองน้ำ หนา ๒-๓ มม. ผนังผลชั้นในแข็ง หนา ๑-๑.๕ มม. เมล็ดสีขาว คล้ายทรงรูปไข่ มี ๑ เมล็ด พบน้อยที่ มี ๒ เมล็ด

 


     ดันหมีชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทั่วทุกภาค พบตามป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๕๐-๑,๒๐๐ ม. ออกดอกเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นผลเดือนเมษายนถึงพฤศจิกายน ในต่างประเทศพบ ที่เมียนมา จีน ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และเกาะ บอร์เนียว
     ประโยชน์ ใบใช้ต้มน้ำกินแก้เหน็บชา รากหรือ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง.

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดันหมี ๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz
ชื่อสกุล
Gonocaryum
คำระบุชนิด
lobbianum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Miers)
- Kurz
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Miers) ช่วงเวลาคือ (1789-1879)
- Kurz ช่วงเวลาคือ (1834-1878)
ชื่ออื่น ๆ
กัลปังหาต้น (ภูเก็ต); ก้านเหลือง, คำเกี้ยวต้น, มะดีควาย (เหนือ); ปูตูบูแว (มลายู-นราธิวาส
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางสาวอ้อพร เผือกคล้าย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.